วันพุธที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ค่านิยมทางเพศ


ค่านิยมทางเพศที่เหมาะสมต่อการดำเนินชีวิต

ค่านิยมของวัยรุ่นหลายประการสามารถชักนำไปสู่พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ เช่น พฤติกรรมนิยมมีแฟนในวัยเรียน พฤติกรรมที่วัยรุ่นเรียกว่า “กิ๊ก” ซึ่งวัยรุ่นยังมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับค่านิยมเหล่านี้ไม่ถูกต้อง ถึงแม้ว่าจะมองดูทันสมัย แต่ถ้านำมาปฏิบัติจะนำพาชีวิตไปสู่ทางเสื่อมได้ง่าย ถ้าไม่รู้จักการปฏิบัติและวางตัวให้เหมาะสมกับวัย ซึ่งวัยรุ่นยังขาดประสบการณ์ที่เพียงพอในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างเพศที่ต้องเรียนรู้อีกมาก
ค่านิยมทางเพศที่เหมาะสมจะช่วยส่งเสริมให้ชีวิตมีคุณค่า ในที่นี้จะนำเสนอค่านิยมทางเพศที่เหมาะสมต่อการดำเนินชีวิต เพื่อที่จะได้พิจารณานำไปปฏิบัติ ดังนี้
1. ค่านิยมรักนวลสงวนตัว เรื่องการปฏิบัติตนของเพศหญิงที่เรียกว่า การรักนวลสงวนตัว เป็นสิ่งที่ถือปฏิบัติสืบต่อกันมาแต่โบราณกาล ซึ่งในปัจจุบันค่านิยมนี้ยังใช้ได้ดีอยู่ เพราะช่วยป้องกันภัยทางเพศได้ สังคมไทยยังถือเรื่องความบริสุทธิ์ของผู้หญิงเป็นสิ่งสำคัญและมีคุณค่า การปฏิบัติตนเพื่อรักนวลสงวนตัวนั้น ไม่ใช่ว่าตัดความสัมพันธ์ในการคบหาสมาคมกับเพื่อนชายโดยสิ้นเชิง แต่จะเน้นการสร้างสัมพันธภาพที่เหมาะสมต่อกัน เช่น วัยรุ่นหญิงไม่ควรเปิดโอกาสให้เพื่อนชายได้ใกล้ชิดมากจนเกินขอบเขต โดยปล่อยให้จับมือถือแขนโอบกอด ซึ่งการปฏิบัติเช่นนี้สังคมจะมองคุณค่าในตัวของเพศหญิงลดลง ดังนั้นผู้หญิงทุกคนควรไตร่ตรองให้รอบคอบก่อนที่จะแสดงพฤติกรรมเหล่านี้ เพราะการวางตัวให้เหมาะสมกับวัยจะเป็นที่ชื่นชมของสังคมมากกว่า
2. ค่านิยมการให้เกียรติและการวางตัว การให้เกียรติซึ่งกันและกันและการวางตัวที่เหมาะสมทางเพศ เป็นเรื่องที่วัยรุ่นควรศึกษาเรียนรู้ และนำมาปฏิบัติทั้งต่อเพื่อนเพศเดียวกันและเพศตรงข้ามเพราะเป็นสิ่งที่สามารถยึดเหนี่ยวน้ำใจระหว่างเพื่อนให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น การให้เกียรติและการวางตัวที่ดีทางเพศนั้น ทั้งวัยรุ่นชายหญิงจะต้องแสดงออกต่อกันด้วยความจริงใจ เช่น วัยรุ่นชายควรใช้คำพูดที่สุภาพ ไม่พูดก้าวร้าว ดูหมิ่นศักดิ์ศรีเพื่อนหญิง ควรแสดงความห่วงใยในสวัสดิภาพและความปลอดภัยของเพื่อนหญิง ไม่ฉวยโอกาสใกล้ชิดเพื่อนหญิงเพื่อจับมือถือแขน หรือลวนลามให้ได้รับความเสียหาย ต้องวางตัวในฐานะเพื่อนให้เพื่อนหญิงไว้ใจ อุ่นใจ ส่วนวัยรุ่นหญิงควรให้เกียรติเพื่อนชายเช่นกัน เช่น ใช้คำพูดที่สุภาพเรียบร้อย แสดงความมีน้ำใจ ไม่แต่งกายล่อแหลมเพื่อยั่วยวนเพื่อนชายด้วยการนุ่งน้อยห่มน้อยชิ้น ปฏิเสธการไปไหนด้วยกันสองต่อสองกับเพื่อนชาย ที่จะเป็นเหตุให้ตนเองไม่ปลอดภัยและสังคมมองไม่ดีได้ เป็นต้น
3. ค่านิยมสร้างคุณค่าความดีงามในจิตใจ ความดีงามในจิตใจเป็นสิ่งมีคุณค่าเพราะเป็นสิ่งที่บุคคลทั่วไปในสังคมยอมรับ วัยรุ่นในฐานะที่กำลังเป็นวัยเจริญเติบโตทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ เพื่อพัฒนาเป็นผู้ใหญ่ที่ดีมีคุณภาพในอนาคต จึงควรสร้างโอกาสอันดีในการเรียนรู้ฝึกฝนอบรมตัวเองทางด้านจิตใจ ให้เจริญพัฒนาอย่างมีคุณค่าจนเป็นที่ยอมรับของสังคม
การสร้างคุณค่าในตัวเองทางจิตใจนั้นสามารถปฏิบัติได้หลายวิธี เช่น การยึดเหนี่ยวจิตใจด้วยหลักทางศาสนาที่ตนนับถือ ซึ่งทุกศาสนาล้วนสอนให้ทุกคนเป็นคนดี วัยรุ่นจึงควรศึกษาทำความเข้าใจในศาสนาของตนเองว่า การปฏิบัติในเรื่องใดสามารถนำมาปรับใช้ให้เข้ากับสภาพชีวิตของตนเองได้ก็ให้นำมาปฏิบัติ ในเรื่องเพศก็เช่นกันเดียวกัน ศาสนาไม่มีข้อห้ามแต่ต้องปฏิบัติให้เหมาะสมกับกาลเทศะ เพศ และวัยของตนเองไม่หมกมุ่นฟุ้งซ่านจนเกินขอบเขตก็จะช่วยสร้างชีวิตที่ดีในอนาคตได้

วันพฤหัสบดีที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การดูแลรักษาสุขภาพ


 หลัก ๘ ประการของการดูแลรักษาสุขภาพ

    ๑. รับประทานอาหาร  อย่างถูกต้องเหมาะสม
           อาหารเช้า
                   สำคัญมากเพราะช่วงเช้าร่างกายขาดน้ำตาล ถ้าไม่รับประทานอาหารเช้าจะเกิดภาวะขาดน้ำตาลซึ่งจะมี
    ผลทำให้ความคิดตื้อตันไม่ปลอดโปร่ง วิตกกังวล ใจสั่น อ่อนเพลีย หงุดหงิด โมโหง่าย มื้อเช้ารับประทานได้เช้า
    ที่สุดยิ่งดี (ระหว่างเวลา ๖.๐๐ – ๗.๐๐ น.) เพราะท้องว่างมานาน หากยังไม่มีอาหารให้ดื่มน้ำอุ่นหรือน้ำข้าวอุ่น ๆ
    ก่อน ควรทานข้าวต้มร้อน ๆ จะช่วยให้ง่ายต่อการขับถ่ายอุจจาระ ถ้าจำเป็นต้องรับประทาน(สาย) ใกล้อาหารมื้อ
    กลางวัน อย่ารับประทานมาก
          อาหารเพล (อาหารมื้อกลางวัน)
                   ควรเป็นอาหารหนัก เช่น ข้าวสวย พร้อมกับข้าวครบ ๕ หมู่ เพราะร่างกายต้องใช้พลังงานมาก และควร
    รับประทานให้เพียงพอแก่ความต้องการของร่างกาย

    ๒. ขับถ่าย อุจจาระ ปัสสาวะ สม่ำเสมอทุกวัน
    ๓. ใส่เสื้อผ้าให้เหมาะสม กับฤดูกาล เช่น หน้าหนาวก็ใส่เสื้อผ้าหนา ๆ สวมหมวก ถุงมือ ถุงเท้า
         ขณะนอนตอนกลางคืนควรห่มผ้าปิดถึงอก
    ๔. ออกกำลังกาย ควรออกกำลังกายกลางแจ้งทุกวัน
    ๕. รักษาความสะอาดของสถานที่พักอาศัย เพื่อช่วยให้สิ่งแวดล้อมดี อากาศดี
    ๖. รักษาอารมณ์ให้ปลอดโปร่ง แจ่มใสตลอดทั้งวัน และอย่าลืมนั่งสมาธิทุกวัน
    ๗. พักผ่อนให้เพียงพอ เหมาะสมกับเพศ และวัยไม่ควรนอนดึกเกิน ๒๒.๐๐ น. ติดต่อกันหลายวัน
    ๘. มีท่าทาง และอิริยาบถที่ถูกต้องเหมาะสม ในการทำงานในชีวิตประจำวัน
  ท่าทางและอิริยาบทในการใช้ชีวิตประจำวัน
ท่าหิ้วของจากพื้น
 การออกกำลังกายท่าพื้นฐาน

วันศุกร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ระบบประสาท

ระบบประสาท

ระบบประสาทของสัตว์ มีหน้าที่ในการออกคำสั่งการทำงานของกล้ามเนื้อ ควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย และประมวลข้อมูลที่รับมาจากประสาทสัมผัสต่างๆ และสร้างคำสั่งต่างๆให้อวัยวะต่าง ๆ ทำงาน 
ระบบประสาทของสัตว์ที่มีสมองจะมีความคิดและอารมณ์ ระบบประสาทจึงเป็นส่วนของร่างกายที่ทำให้สัตว์มีการเคลื่อนไหว (ยกเว้นสัตว์ชั้นต่ำที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้เช่น ฟองน้ำ สารเคมีที่มีฤทธิ์ต่อระบบประสาทหรือเส้นประสาท  เรียกว่า สารที่มีพิษต่อระบบประสาท ( ซึ่งมักจะมีผลทำให้เป็นอัมพาต หรือตายได้
ลักษณะทางกายวิภาค
ระบบประสาทประกอบด้วยเซลล์สองประเภท คือ
§ เซลล์ประสาท หรือ นิวรอนเป็นเซลล์ที่เป็นส่วนประกอบหลักของระบบประสาท
§ เซลล์เกลีย  เป็นเซลล์สำคัญรองจากนิวรอนมีหน้าที่ในการลำเลียงอาหารมาให้เซลล์ประสาท และเป็นองค์ประกอบของโครงสร้างของระบบประสาท
การส่งสัญญาณภายในระบบประสาทเกิดขึ้นได้ด้วยกลไกสองอย่าง คือ
§ การส่งสัญญาณภายในเส้นใยประสาทโดยวิธีของศักยะงาน 
§ การส่งสัญญาณระหว่างนิวรอนโดยอาศัยสารสื่อประสาท บริเวณจุดประสานประสาท 
ระบบประสาทของสัตว์มีกระดูกสันหลัง
ระบบประสาทของสัตว์มีกระดูกสันหลังสามารถแบ่งได้เป็นสองส่วน คือ ระบบประสาทกลาง หรือ ซีเอ็นเอสและ ระบบประสาทนอกส่วนกลาง หรือ พีเอ็นเอส ระบบประสาทกลางประกอบด้วยสมองและไขสันหลัง ระบบประสาทนอกส่วนกลางประกอบด้วยเส้นประสาทและนิวรอนที่ไม่ได้อยู่ในระบบประสาทกลาง โดยทั่วไปเรียกส่วนหลักของระบบประสาทนอกส่วนกลางว่าเส้นประสาท ระบบประสาทนอกส่วนกลางยังสามารถแบ่งออกเป็นระบบประสาทกาย และระบบประสาทอิสระ 

การจัดระบบของระบบประสาทในสัตว์มีกระดูกสันหลัง
ระบบประสาทนอกส่วนกลาง

ระบบประสาทกาย


ระบบประสาทอิสระ

ระบบประสาทซิมพาเทติก


ระบบประสาทพาราซิมพาเทติก


ระบบประสาทเอนเทอริก


ระบบประสาทกลาง



ระบบประสาทกาย มีหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายและรับสิ่งเร้า  ต่าง ๆ จากภายนอกร่างกาย ระบบประสาทอิสระเป็นส่วนที่ไม่สามารถสั่งงานได้และมีหน้าที่ควบคุมอวัยวะภายในต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น หัวใจปอด เป็นต้น
ระบบประสาทอิสระ ยังสามารถแบ่งออกเป็น ระบบประสาทซิมพาเทติก และระบบประสาทพาราซิมพาเทติก ระบบประสาทซิมพาเทติกจะตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่เป็นอันตรายหรือสถานการณ์ที่ตึงเครียด ระบบประสาทอันนี้ทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้นและเพิ่มความดันเลือด และเปลี่ยนแปลงสรีรวิทยาของระบบต่าง ๆ ของร่างกาย และทำให้เกิดความรู้สึกตื่นเต้น ระบบประสาทพาราซิมพาเทติกจะทำงานตรงกันข้ามกับระบบประสาทซิมพาเทติก กล่าวคือ ระบบประสาทพาราซิมพาเทติกจะทำงานเมื่อร่างกายรู้สึกผ่อนคลายหรือกำลังพัก มีผลทำให้รูม่านตาหดตัว, หัวใจเต้นช้าลง, เส้นเลือดขยายตัว และกระตุ้นให้ระบบย่อยอาหารระบบสืบพันธุ์ และระบบขับถ่ายทำงานอีกด้วย
ระบบประสาทกลาง
ระบบประสาทกลาง ประกอบด้วย สมอง และไขสันหลัง

สมอง แบ่งออกเป็น 3 ส่วน
§ สมองส่วนหน้า  ประกอบด้วยเทเลนเซฟาลอน  และไดเอนเซฟาลอน  เทเลนเซฟาลอนคือสมองใหญ่  ส่วนไดเอนเซฟาลอนประกอบด้วยไฮโปทาลามัส  ทาลามัส 
§ สมองส่วนกลาง  ทำหน้าที่เป็นส่วนหนึ่งของก้านสมองและเป็นจุดศูนย์กลางของรีเฟล็กซ์เกี่ยวกับการมองเห็น  และรีเฟล็กซ์เกี่ยวกับการได้ยิน  ประกอบด้วยซีรีบรัล พีดังเคิล  และคอร์พอรา ควอไดรเจมินา  ซึ่งแบ่งออกเป็น ซุพีเรียร์ คอลลิคูไล  2 พู  และอินฟีเรียร์ คอลลิคูไล  2 พู
§ สมองส่วนท้าย  ประกอบด้วยเมดัลลาออบลองกาตาสมองน้อย หรือ ซีรีเบลลัม และ พอนส์ 
สมอง มี 2 ชั้น (ตรงข้ามกับไขสันหลัง)
1.เนื้อเทา  เป็นที่อยู่ของกระแสประสาทและแกนประสาท ที่ไม่มีเยื่อไมอิลินหุ้ม
2.เนื้อขาว  เป็นที่อยู่ของแกนประสาทที่มีเยื่อไมอิลินหุ้ม

เยื่อหุ้มสมอง 3 ชั้น คือ
1.เยื่อหุ้มสมองชั้นนอก  เหนียว แข็งแรงมากโดยมีหน้าที่ป้องกันการกระทบกระเทือน
2.เยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง เป็นเยื่อบางๆ
3.เยื่อหุ้มสมองชั้นใน  มีเส้นเลือดแทรกมากมายทำหน้าที่ส่งอาหารไปเลี้ยงสมอง ในระหว่างชั้นกลางกับชั้นในจะมีการบรรจุของเหลวที่เรียกว่า น้ำเลี้ยงสมองไขสันหลัง โดยจะทำหน้าที่ให้สมองและไขสันหลังเปียกชื้นอยู่เสมอ
ไขสันหลัง ประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 2 ส่วน คือ
1.เนื้อขาว เป็นส่วนที่มีสีขาวรอบนอก ไม่มีเซลล์ประสาทจะมีเฉพาะใยประสาทที่มีเยื่อไมอิลินหุ้ม
2.เนื้อเทา  เป็นส่วนสีเทา ประกอบด้วยใยประสาทที่ไม่มีเยื่อไมอิลินหุ้ม และตัวเซลล์ประสาทซึ่งมีทั้งประเภทประสานงานและนำคำสั่ง
โครงสร้างของไขสันหลังและเส้นประสาทไขสันหลัง
1.     ปีกบน  เป็นบริเวณรับความรู้สึก
2.     ปีกล่าง เป็นบริเวณนำคำสั่ง
3.     ปีกข้าง เป็นบริเวณระบบประสาทอัตโนมัติ