วันอาทิตย์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2555

น้ำหนักตัวกับสุขภาพ

หน่วยการเรียนรู้ที่ ๗ 
น้ำหนักตัวกับสุขภาพ
  ทุกคนคงเคยได้ยินคำว่า "โรคอ้วนลงพุง" ตามข่าวโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ หรือสื่อต่างๆ คนอ้วนลงพุงไม่เพียงแต่ส่งผลต่อนูปร่างของบุคคลนั้นๆแล้ว ยังทำให้เกิดความเสี่ยงในการเกิดโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น น้ำตาลในเลือดสูง ความดันเลือดสูง  โรคไขมันในเลือดสูง โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดหัวใจ ถ้าทุกๆคนยังไม่อยากเป็นโรคอ้วนลงพุง ทุกคนจะต้องรักษาน้ำหนักตัวให้ได้ตามมาตรฐาน












 ความสำคัญของการดูแลและควบคุมน้ำหนักตัว
  กระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้น้ำหนักตัวเป็นดัชนีวัดด้านสุขภาพที่สำคัญ เพราะน้ำหนักตัวมีผลโดยตรงต่อสุขภาพ ผู้ที่มีน้ำหนักตัวเหมาะสมกับวัย และได้สัดส่วนกับความสูงของตนเอง จะช่วยให้มีสุขภาพที่ดี ปลอดภัยจากโรค และมีชีวิตยืนยาว ในทางตรงข้ามผู้ที่มีน้ำหนักตัวไม่ได้มาตรฐาน จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพหลายประการดังนี้
  ผลกระทบจากการมีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐานหรือโรคอ้วน แบ่งเป็น ๔ กลุ่ม คือ
  ๑. โรคเรื้อรังที่สัมพันธ์กับโรคอ้วน
  ๒. ความผิดปกติของต่อมไร้ท่อและการเผาผลาญทางชีวเคมีในร่างกาย
  ๓. ปัญหาสุขภาพอ่อนแอ 
  ๔. ปัญหาทางสังคมและจิตใจ
  ผลกระทบจากการมีน้ำหนักตัวต่ำกว่ามาตรฐานหรือโรคผอม  คือ ทำให้ร่างกายอ่อนแอ เจ็บป่วยง่าย และประสิทธิภาพทางการเรีียนและทำงานด้อยกว่าปกติ
  การมีน้ำหนักตัวมากเกินมาตรฐานหรือโรคอ้วนในกลุ่มเด็กและวัยรุ่น ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพเช่นเดียวกับการมีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐานในวัยผู้ใหญ่ การมีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐานในเด็กและวัยรุ่นมีแนวโน้มสูงที่จะมีน้ำหนักเกินมาตรฐานในวัยผู้ใหญ่ ดังนั้น การควบคุมน้ำหนักตัวตั้งแต่วัยเด็กจึงมีความสำคัญ ส่วนสาเหตุของการมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นในวัยเด็กนั้นาจากหลายสาเหตุ เช่น การเติบโตในครอบครัวที่มีการบริโภคอาหารที่ให้พลังงานสูง
วิธีการประเมินและวิเคราะห์น้ำหนักตัว
  การจะประเมินน้ำหนักตัวว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือไม่นั้นทำไ ด้หลายวิธี ดังนี้
  การประเมินน้ำหนักตัวในเด็ก ใช้ค่าน้ำหนักตัวเทียบกับน้ำหนักตามเกณฑ์อายุ
  การประเมินน้ำหนักตัวในผู้ใหญ่ คำนวณหาค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index : BMI) เป็นหน่วยมาตรฐานสากลทีใช้จำแนกน้ำหนักของร่างกาย วิธีคำนวณใช้น้ำหนักตัวเป็นตัวตั้ง (หน่วยกิโลกรัม) หารด้วยส่วนสูงยกกำลังสอง (หน่วยเป็นเมตร)
  การแปลผลค่าดัชนีมวลกายสำหรับคนเอเชีย
   ค่า BMI น้อยกว่า ๑๘.๕       หมายถึง น้ำหนักน้อย
   ค่า BMI ๑๘.๕๐ ถึง ๒๒.๙๙ หมายถึง น้ำหนักปกติ 
   ค่า BMI ๒๓.๐๐ ถึง ๒๔.๙๙ หมายถึง น้ำหนักเกิน
   ค่า BMI ๒๕.๐๐ ถึง ๒๙.๙๙ หมายถึง อ้วน 
   ค่า BMI ๓๐.๐๐ ขึ้นไป         หมายถึง อ้วนมาก
  วิธีการดูแลและควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
   ๑. กินอาหารสมดุล ควบคุมสัดส่วนและปริมาณอาหารแต่ละกลุ่มให้พอเหมาะแต่ละวัน
   ๒. กินอาหารเช้าทุกวัน
   ๓. กินอาหารพออิ่มในแต่ละมื้อ 
   ๔. กินอาหารธรรมชาติไม่แปรรูป
   ๕. กินผักและผลไม้รสไม่หวาน
   ๖. กินอาหารมื้อเย็นห่างจากเวลานอนไม่น้อยกว่า ๔ ชั่วโมง
   ๗. กินให้น้อยลง รู้จักหลีกเลี่ยงอาหารมันจัด
   ๘. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
   ๙. ประเมินและวิเคราะห์น้ำหนักตัวเป็นระยะอย่างสม่ำเสมอ














การแก้ไขปัญหาน้ำหนักตัว
 การเพิ่มน้ำหนักตัว
   ๑. กินอาหารหลากหลายครบ ๕ หมู่
   ๒. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ให้เหนื่อยระดับปานกลาง คือ หายใจเร็วขึ้น ไม่หอบ หัวใจเต้นเร็วขึ้น แต่สามารถพูดได้จบประโยค
 การลดน้ำหนักตัว
   ๑. มีความตั้งใจ และมุ่งมั่นที่จะลดน้ำหนัก
   ๒. สร้างความคิดที่ดี
   ๓. ตั้งเป้าหมายี่เป็นไปได้ของน้ำหนักที่จะลด
   ๔. ลดน้ำหนักเพื่อสุขภาพ ไม่ควรลดมากจนเกินไป
   ๕. อัตรการลดน้ำหนักที่เหมาะสม
   ๖. ควบคุมพลังงานจากอาหารที่ได้รับในแต่ละวัน
   ๗. กินอาหารทุกมื้อ
   ๙. งดของหวาน ลูกอม น้ำหวาน น้ำอัดลม เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
   ๑๐. มีความอดทน
   ๑๑. เคี้ยวอาหารช้าๆ ใช้เวลาเคี้ยวประมาณ ๓๐ ครั้งต่อ ๑ คำ
   ๑๒. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ 

1 ความคิดเห็น: