วันพฤหัสบดีที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2555

การเคลื่อนย้ายอย่างปลอดภัย

หน่วยการเรียนรู้ที่ 10

การเคลื่อนย้ายอย่างปลอดภัย

ความสำคัญ
การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บ เป็นขั้นตอนที่สำคัญประการหนึ่งในกระบวนการให้การปฐมพยาบาล เพราะการเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บหรือผู้ป่วยที่ถูกวิธีและรวดเร็วจะช่วยลดอันตรายจากการบาดเจ็บและการเสียชีวิตได้มาก
หลักทั่วไป
หลักการเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บหรือผู้ป่วยโดยทั่วไป คือต้องให้การปฐมพยาบาลผู้ป่วยก่อนหลังจากได้มีการสำรวจและประเมินสภาพร่างกายจนแน่ใจว่าผู้ได้รับบาดเจ็บหรือผู้ป่วยได้รับอันตรยมากน้อยเพียงใด รวมทั้งได้ให้การปฐมพยาบาลเบื้องต้นเรียบร้อยแล้ว
หลักการทั่วไปในการเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บหรือผู้ป่วย
การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยมีหลักการปฏิบัติดังนี้
  1. ควรมีความรู้ความเข้าใจ อละมีทักษะในการเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บ
  2. ต้องระลึกเสมอว่าการเคลื่อนย้ายไม่ถูกวิธีและไม่ระมัดระวังอาจก่อให้เกิดการบาดเจ็บรุนแรง
  3. ต้องตัดสินใจเสียก่อนว่าควรใช้การเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บหรือผู้ป่วยด้วยวิธีใด
  4. เคลื่อนย้ายด้วยความระมัดระวังที่สุด
  5. ก่อนเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บต้องตรวจดูอาการผู้บาดเจ็บเสียก่อน
  6. ไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บด้วยวิธีใดก็ตาม ผู้ช่วยเหลือจะต้องดูให้รอบคอบ เหมาะสมกับเหตุการณ์โดยไม่ให้ผู้บาดเจ็บกระทบกระเทือนหรือเป็นอันตรายเพิ่มขึ้น
  7. ขระทำการเคลื่อนย้ายจะต้องดูแลอย่างใกลิด สังเกตอาการ ชีพจร และการหายใจ
  8. ถ้าผู้บาดเจ็บได้รับอุบัติเหตุร้ายแรง ควรรีบเคลื่อนย้ายแล้วนำส่งให้ถึงมือแพทย์โดยเร็ว
  9. การเคลื่อนย้ายต้องเคลื่อนย้ายด้วยความระมัดระวังและรอบคอบ
  10. ต้องเลือกวิธีการเคลื่อนย้ายที่เหมาะสม
  11. ถ้าอยู่ในสถานการณ์เสี่ยงอันตรายต้องรีบย้ายผู้บาดเจ็บออกจากที่ประสบเหตุให้เร็วที่สุด
วิธีการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยแบบต่างๆ
กาเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บหรือผู้ป่วยที่ไม่ใช้อุปกรณ์ มีหลายวิธีดังนี้
การเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ้บแบบพยุงเดิน
การเคลื่อนย้ายวิธีนี้ทำโดยมีผู้ช่วยเหลือเพียงคนเดียว เป็นการเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บหรือผู้ป่วยเล็กน้อยมีสติอยู่ และช่วยเหลือตัวเองได้บ้าง 
 วิธีปฏิบัติ ผู้ช่วยเหลือยืนคู่กับผู้บาดเจ็บ หันหน้าไปในทิศทางเดียวกัน จับแขนผู้บาดเจ็บข้างใดข้างหนึ่งถ้าผู้บาดเจ็บได้รับบาดเจ็บที่ขาก็ให้ขาข้างที่บาดเจ็บอยู่ใกล้กับขาผู้ช่วยเหลือ เอามือผู้บาดเจ็บพาดบ่าคล้องคอผู้ช่วยเหลือ จับข้อมือผู้บาดเจ็บไว้ มืออีกข้างโอบหลังผู้บาดเจ็บพาเดิน ต้องพยายามออกแรงพยุงผู้บาดเจ็บให้มากที่สุด เพื่อให้ผู้บาดเจ็บเดินได้โดยไม่ต้องใช้แรงมากและเป็นการลดน้ำหนักตัวที่จะลงบนขาในกรณีที่เป็นการบาดเจ็บที่ขา เท้า หรือข้อเท้า 
การเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บแบบแบกใส่บ่า 
ใช้ในกรณีที่ผู้บาดเจ็บหมดสติ หรือถ้ามีสติก็ต้องมีรูปร่างไม่ใหญ่โตมากนัก และผู้ช่วยเหลือต้องมีรูปร่างใหญ่โดและแข็งแรงกว่า สามารถทำได้ 2 วิธี ดังนี้
 วิธีที่ 1
1.ผู้ช่วยเหลือสัมผัสร่างกายผู้บาดเจ็บ
2.ก้าวเท้าไปยืนคร่อมลำตัวผู้บาดเจ็บ เอามือดึงไหล่ขึ้นมา
3.ใช้มือสอดเข้าใต้รักแร้ทั้งสองข้างจนมือประสานกันได้
4.ดึงตัวผู้บาดเจ็บขึ้นมาจากท่าคุกเข่าจนถึงท่ายืน
5.ใช้มือจับข้อมือผู้บาดเจ็บข้างหนึ่ง ย่อตัวนำผู้บาดเจ็บพาดที่บ่าใช้มืออีกข้างรวบที่ขาทั้งสองตรงข้อพับ
6.ลุกขึ้นยืน เอามือผู้บาดเจ็บข้างที่จับไว้ตอนต้นส่งไปยังมือที่จับขา
7.ใช้มือข้างที่จับขาผู้บาดเจ็บจับมือผู้บาดเจ็บแทน โดยให้ขาผู้บาดเจ็บอยู่ระหว่างแขนและลำตัวของผู้ช่วยเหลือ
วิธีที่ 2
1.ผู้ช่วยเหลือคุกเข่าเหนือศรีษะผู้บาดเจ็บ
2.ใช้มือทั้งสองสอดเข้าใต้รักแร้
3.ยกตัวขึ้นมาจนอยู่ในท่ายืน
4.ย่อตัวลงแบกผู้บาดเจ็บขึ้นบ่า ให้มือข้างหนึ่งจับข้อมือผู้บาดเจ็บ อีกข้างคล้องขาด้านในผู้บาดเจ็บยืนตรง ส่งมือที่จับผู้บาดเจ็บไปยังมือที่กอดขา แล้วพาเดิน

 การเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บแบบอุ้มกอดด้านหน้า
 
เหมาะสำหรับผู้บาดเจ็บที่เดินไม่ได้ และน้ำหนักตัวไม่มากหนัก หรือไม่เกินกำลังของผู้ช่วยเหลือ 
 วิธีปฏิบัติ
1.ให้ยกผู้บาดเจ็บขึ้นมาด้วยการคุกเข่าข้างหนึ่งลง
2.ยกผู้บาดเจ็บขึ้น ให้ผู้บาดเจ็บพักบนเข่า
3.ยกผู้บาดเจ็บขึ้นในท่ายืน เพื่อคามนุ่มนวลและป้องกันอันตรายซึ่งอาจเกิดที่กระดูกสันหลังแล้วพาเดิน ถ้าผู้บาดเจ็บยังมีสติอยู่ใช้แขนด้านในคล้องคอผู้ช่วยเหลือ

 การเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บแบบกอดคอขี่หลัง
เหมาะกับผู้บาดเจ็บที่ขา เดินไม่ได้ แต่ต้องรู้สึกตัวดีหรือรู้สึกตัวอยู่บ้าง มีน้ำหนักตัวไม่หนักมาก ไม่เกินกำลังของผู้ช่วยเหลืv 
วิธีปฏิบัติ ให้ผู้บาดใจยืนทาบหลังและกอดคอผู้ช่วยเหลือ ผู้ช่วยเหลือย่อตัวลงพร้อมสอดมืทั้งสองข้างเข้าใต้เข่าของผู้บาดเจ็บ และดึงมือทั้งสองข้างของผู้บาดเจ็บมายึดไว่ในลัำกษณะไขว้กัน เมื่อทรงตัวได้จึงพาเดิน

การเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บแบบใช้สองคนหาม
ใช้ในกรณีผู้บาดเจ็บที่มีอาการไม่รุนแรง ไม่สามารถช่วยตัวเองได้ เหมาะสำหรับย้ายผ่านที่แคบ 
วิธีปฏิบัติ ผู้ช่วยเหลือคนหนึ่งอยู่ทางศรีษะ สอดแขนเข้าใต้รักแร้ของผู้บาดเจ็บ แล้วโอบมาด้านหน้า มือทั้งสองจับให้แน่น ส่วนผู้ช่วยเหลืออีกคนอยู่ด้านหน้าหันหน้าไปตามกันกับคนหลัง ยืนระหว่างขาทั้งสองของผู้บาดเจ็บ ใช้มือจับใต้เข่าทั้งสองข้างของผู้บาดเจ็บ หลังจากนั้นให้ผู้ช่วยเหลือทั้งสองคนยกผู้บาดเจ็บขึ้นในท่านั่ง แล้วจึงพาเดิน ต้องใช้ความเร็วเท่ากัน  
การเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บแบบที่นั่งสองมือ 
ใช้ในกรณีผู้บาดเจ็บเดินไม่ได้ หมดสติ 
วิธีปฏิบัติ ผู้ช่วยเหลือทั้งสองหันหน้าเข้าหากัน คุกเข่าลงข้างตัวของผู้บาดเจ็บคนละข้างพยุงผู้บาดเจ็บให้อยู่ในท่านั่ง  ผู้ช่วยเหลือทั้งสองคนใช้แขนโอบหลังผู้บาดเจ็บบริเวณรักแร้แล้วใช้มือจับข้อมือซึ่งกันและกัน  สอดแขนอีกข้างเข้าที่ใต้เข่าของผู้ได้รับบาดเจ็บ และใช้มือจับข้อมือซึ่งกันและกัน จากนั้นจึงยกผู้บาดเจ็บขึ้นพร้อมๆ กัน แล้วพาเดินไป

การเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บแบบอุ้มประสานแคร่
 
ใช้ในกรณีที่ผู้บาดเจ็บมีสติดี และสามารถใช้มือยึดจับผู้ช่วยเหลือได้
วิธีปฏิบัติ ผู้ช่วยเหลือทั้งสองคนหันหน้าเข้าหากัน ใช้มือขวาจับข้อมือซ้ายของตนและใช้มือซ้ายของตนจับข้อมือขาของอีกคนหนึ่ง มือทั้งสี่จะประสานกันเป็นแคร่ ย่อตัวลงให้ผู้บาดเจ็บนั่งลงบนมือทั้งสี่ แล้วให้ผู้บาดเจ็บโอบรอบคอผู้ช่วยเหลือทั้งสอง หลังจากนั้นยกผู้บาดเจ็บขึ้นพร้อมกันแล้วพาเดิน

การเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บแบบสามคนหาม
ใช้ในกรณีที่ต้องเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บในลักษณะนอน หรือผู้บาดเจ็บไม่รู้สึกตัว ระยะที่เคลื่อนที่ไปไม่ไกลนัก  และต้องมีผู้ช่วยเหลือสามคน
 
วิธีปฏิบัติ
1.ผู้ช่วยเหลือทั้ง 3 หันหน้าไปทางเดียวกันและควรเป็นข้างที่ไม่ได้รับบาดเจ็บ ผู้ช่วยหลือทั้งหมดคุกเข่าลงและเป็นเข่าข้างเดียวกัน คนที่อยู่ทางศีรษะสอดแขนเข้าที่ใต้ศีรษะ คอ และไหล่  ส่วนแขนอีกข้างสอดเข้าที่ใต้หลัง คนถัดมาสอดแขนข้างหนึ่งเข้าที่บริเวณเอวและสะโพก ส่วนอีกข้างสอดเข้าที่ขาท่อนบน  คนท้ายสอดแขนเข้าที่ใต้เข่า และแขนอีกข้างสอดเข้าที่ข้อเท้า
2.ยกผู้บาดเจ็บขึ้นพร้อมๆ กันในท่านั่ง แล้วทุกคนกอดผู้บาดเจ็บให้ด้านหน้าของเข่าแนบลำตัวของผู้ช่วยเหลือทุกคน
3.ลุกขึ้นยืนพร้อมกัน เมื่อทรงตัวได้แลัวจึงพาเดินด้วยความระมัดระวังและก้าวเดินไปข้างหน้าพร้อมๆกัน
การเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บหรือผู้ป่วยโดยใช้อุปกรณ์ มีอยู่หลายวิธีขึ้นอยู่กับสภาพการณ์ดังนี้ 
การเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บแบบใช้เก้าอี้ 
ควรใช้เก้าอี้ที่มีความแข็งแรง และเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บที่ยังมีสติอยู่ แต่ไม่สามารถเดินได้ หรือใช้ในกรณีที่ต้องนำผู้ป่วยลงบันได 
วิธีปฏิบัติให้ผู้บาดเจ็บนั่งพิงเก้าอี้ในท่าที่สบายๆให้ผู้ช่วยเหลือสองคนยกเก้าอี้ขึ้น คนหนึี่งจับด้านหลังพนักพิงและอีกคนหนึ่งจับทางด้านหน้าของเก้าอี้ ยกเก้าอี้ขึ้น แล้วพาเดินไปทางด้านข้าง

การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยแบบใช้ผ้าห่มทำแปล
 
เหมาะสำหรับผู้บาดเจ็บที่มีอาการหนัก และจำเป็นต้องใช้แปลสนามแต่ไม่มีแปล  จึงต้้องดัดแปลงวัสดุมาทำแปล 
วิธีทำแปล
1.นำผ้าห่มผืนใหญ่ๆหนาๆ มาคลี่ออกแบ่งเป็น 2 ส่วน พับส่วนที่ 1 มาหาส่วนที่ 2 แล้วสอดไม้พลองตามรอยพับให้โพล่ออกมาทั้ง 2 ข้าง
2.นำไม้พลองท่อนที่ 2 วางลงบนผ้าที่พับไว้ห่างจากไม้พลองอันแรกพอควร
3.พับชายผ้าห่มย้อนกลับมาทับไม้พลองอันที่ 2 และให้ชายผ้าพาดคลุมไม้อันที่ 1 ได้เปลที่ใช้ผ้าห่มและไม้พลองทำ
วิธีลากด้วยผ้าห่ม
เหมาะสำหรับย้ายผู้ป่วยออกจากตึกที่กำลังมีไฟไหม้ ผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ หมดสติ และพื้นที่นั้นเรียบ วิธีการย้ายให้พับผ้าห่มตามยาวทบกัน 2-3 ชั้น วางผ้าห่มชิดตัวผู้ป่วยทางด้านขวา ผู้ช่วยเหลือคุกเข่าลงข่างตัวผู้ป่วยอีกข้างหนึ่ง จับผู้ป่วยตะเเคงเพื่อให้นอนบนผ้าห่มม้วนผ้าห่มเข้าหากัน ผู้ช่วยเหลือใช้มือสองข้างจับผ้าห่มในตำแหน่งศรีษะของผู้ป่วย ใช้มือดึงผ้าห่มเคลื่อนย้ายไปในทิศทางที่ต้องการ
วิธีปฏิบัติ ให้ผู้บาดเจ็บนอนหงาย ผู้ช่วยเหลือสอดมือใต้รักแร้แล้วลากถอยหลัง หรือใช้การจับข้อเท้าทั้งสองข้างแล้วลากถอยหลัง
การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยแบบคลานลาก 
 ใช้ในกรณีที่ผู้บาดเจ็บไม่รู้สึกตัวและอยู่ในที่แคบ ไม่สามารถยืน และย้ายผู้บาดเจ็บได้
 วิธีปฏิบัติ ให้ผู้บาดเจ็บนอนหงายผูกข้อมือทั้งสองข้างให้ติดกัน ผู้ช่วยเหลือคุกเข่าคร่อมตัวผู้บาดเจ็บในท่าคลานแล้วสอดศรีษะเข้าระหว่างแขนทั้งสองที่ผูกข้อมือไว้ จากนั้นผู้ช่วยเหลือจะคลานโดยใช้คอลากผู้บาดเจ็บเคลื่อนที่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น