วันพฤหัสบดีที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2555

สารเสพติด


หน่วยการเรียนรู้ที่11 
สารเสพติด

สารเสพติด หมายถึงสารเคมีหรือวัตถุชนิดใดๆเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายด้วยการกิน ดม สูบ ฉีด หรือวิธีอื่นๆทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายและจิตใจ ต้องการเสพมากขึ้นเรื่อย มีอาการขาดยา เมื่อไม่ได้เสพ

ประเภทของสารเสพติด แบ่งได้ดังนี้

1.แบ่งตามแหล่งที่เกิดขึ้น แบ่งออกเป็น 2 ประเภท

1.1ยาเสพติดธรรมชาติ (Natural Drugs) คือ ยาเสพติดที่ผลิตจากพืช เช่น ฝิ่น กระท่อม กัญชา
1.2ยาเสพติดสังเคราะห์ (Synthetic Drugs) คือ ยาเสพติดที่ผลิตด้วยกรรมวิธีทางเคมี เช่น เฮโรอีน (Heroin) แอมเฟตามีน (Amphetamine) หรือยาบ้า เป็นต้น

2.แบ่งตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 แบ่งออก 5 ประเภท

2.1 ประเภทที่ 1 ได้แก่ เฮโรอีน แอลเอสดี(LSD) แอมเฟตามีน(Amphetamine)หรือยาบ้า ยาอี ยาเลิฟ
2.2 ประเภทที่ 2 ยาเสพติดประเภทนี้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ได้  แต่ต้องภายใต้การควบคุมของแพทย์ื  และใช้ในกรณีที่จำเป็นเท่านั้น ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน(Morphine) โคเคอีน(Cocain) และเมทาโดน(Methadone)
2.3 ประเถทที่ 3 มียาเสพติดประเภทที่ 2 ผสมอยู่ จะมีประโยชน์ทางการแพทย์ การนำไปใช้เพื่อจุดประสงค์อื่นหรือเพื่อเสพติด จะมีบทลงโทษกำกับไว้ ยาเสพติดประเถทนี้ ได้แก่ ยาแก้ไอที่มีโคเคนอีน ยาแก้ท้องเสียที่มีฝิ่นผสม  ยาฉีดระงับปวด เช่น มอร์ฟีน เพทิดีน(Pethidine)สกัดมาจากฝิ่น
2.4 ประเภท 4 คือ สารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ 1/2 ไม่มีใช้ในการบำบัดโรค และมียทลงโทษกำกับด้วย ได้แก่ น้ำยาเคมีที่ใช้ในการเปลี่ยนมอร์ฟีนเป็นเฮโรอีน สารบางอย่างใช้ในการผลิตยาบ้า และวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท 12 ชนิด สามารถนำมาผลิตยาอี ยาบ้าได้
2.5 ประเภทที่ 5 ไม่อยู่ในข่ายยาเสพติด ประเภท 1-4 ได้แก่ ทุกส่วนของกัญชา/กระท่อม เห็ดขี้ความ เป็นต้น

3.แบ่งตามการออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท แบ่งเป็น 4 ประเภท

3.1 ประเภทกดประสาท ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน สารระเหย และ ยากล่อมประสาท
3.2 ประเภทกระตุ้นประสาท ได้แก่ แอมเฟตามีน กระท่อม และโคเคนอีน
3.3 ประเภทหลอนประสาท ได้แก่ แอลเอสดี ดีเอ็มพี (DMP) และเห็ดขี้ควาย
3.4 ประเภทออกฤทธิ์ผสมผสาน คือ อาจกด กระตุ้น หรือ หลอนประสาทได้พร้อมๆกัน เช่น กัญชา

ลักษณะอาการของผู้ติดสารเสพติดการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย มีอาการดังนี้

1.สุขขภาพทรุดโทรม
2.ริมฝีปากเขียวช้ำ แห้ง แตก ถ้าเสพโดยการสูบ
3.ตาไม่ตาไม่ค่อยสู้แสงสว่าง เพราะม่านตาขยายมากกว่าปกติ นัยน์ตาสีแดง
4.น้ำมูก น้ำตาไหล เหงื่ออกมาก กลิ่นตัวแรง สกปรก บางครั้งได้กลิ่นสิ่งที่เสพ เช่น บุหรี่
5.ร่างกายมีร่องรอยการเสพติด
6.หากเสพโดยการสูบ นิ้วมือ เล็บ จะมีคราบเหลืองดำ สกปรก
7.การแสดงออกของพฤติกรรมมีลักษณะแปลกไปจากปกติ

การเปลี่ยนแปลงทางด้านพฤติกรรม ผู้เสพสารเสพติดมีพฤติกรรมเปลี่ยนไปสังเกตได้ดังนี้

1.เบื่อการเรียน การงาน เกเร หนีเรียน ละเลยกิจวัตรประจำวัน ระเบียบวินัยลด
2.ขาดความรับผิดชอบในหน้าที่
3.บุคลิกเสียไป ขาดวามเชื่อมั่นในตนเอง จิตใจอ่อนแอ ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม ปล่อยเนื้อปล่อยตัว พูดจาไม่สัมพันธ์กับสภาพความเป็นจริง
4.ชอบอยู่สันโดษ หลบหน้าเพื่อน ทำตัวลึกลับ มั่วสุมกับคนที่พฤติกรรมการใช้สารเสพติด สูบบุหรี่จัดขึ้น ชอบแยกตัวอยู่คนเดียวที่ลับตาคนเพื่อแอบเสพยา
5.นิสัยก้าวร้าว โมโหง่ายผิดปกติ พูดจาก้าวร้าวแม้แต่บิดามารดา
6.มีธุระส่วนตัวนอกบ้านเสมอๆกลับบ้านผิดเวลาประจำ ไม่ชอบทำงาน ชอบนอนทั้งวัน ตื่่นสายผิดปกติ
7.ใช้เงินเปลืองผิดปกติ มีหนี้สิน บางครั้งขโมย
8.มีอุปกรณ์เกี่ยวกับยาเสพติด

สารเสพติดกับการเกิดโรคและอุบัติเหตุ

สารเสพติดแต่ละชนิดมีลัษณะการเสพและอันตรายต่างกัน การใช้สารเสพติดทุกประเภทมีความสัมพันธ์กันอย่างชัดเจนกับการเกิดโรคและอุบัติเหตุ ทำให้เกิดการเจ็บป่วยและเสียชีวิต เมื่อสารเสพติดเข้าร่างกายระยะเเรกจะออกฤทธิ์ทำให้ร่างกายตื่นตัว หัวใจเต้นเร็ว ความดันเลือดสูง ใจสั่น ประสาทตึงเครียด แต่เมื่อหมดฤทธิ์ยา จะรู้สึกอ่อนเพลียมากกว่าปกติประสาทล้าทำให้ตัดสินใจช้า และผิดพลาด เป็นเหตุก๋ออุบัติเหตุร้ายแรงได้ ถ้าใช้ติดต่อเป็นเวลานานจะทำให้สมองเสื่อม ประสาทหลอน เห็นภาพลวงตา เสียสติ คลุ้มคลั่ง เป็นบ้า  ถ้าได้รับยาปริมาณมาก(Overdoes) จะกดประสาท และระบบหายใจทำให้หมดสติ หรือถึงแก่ตายได้

ความสัมพันธ์ของการใช้สารเสพติดกับการเกิดโรค

1.การเสพยาบ้า มีผลต่อจิตใจทำให้เกิดโรคจิตชนิดหวาดระแวง ส่งผลให้มีพฤติกรรมเปลี่ยนไป
2.การสูบบุหรี่เหมือนการฆ่าตัวตายอย่างช้าๆทำให้เกิดโรคที่พบได้บ่อย คือ โรคถุงลมโป่งพอง เป็นโรคเกี่นวกับทางเดินหายใจรักษาไม่หาย โรคมะเร็งปอด เกิดจากสารทาร์ในควันบุหรี่ คนสูบบุหรี่มีสถิติตายด้วยโรคนี้มากกว่าคนปกติ 10 เท่า โรคหัวใจและโรคหัวใจวาย การสูบบุหรี่ทำให้เส้นเลือดตีบตัน เกิดอาการหัวใจวาย
3.การเสพสารระเหยเป็นอันตรายต่อระบบหายใจ ระบบทางเดินปัสสาวะจะทำให้ไตอักเสบจนถึงพิการ ระบบหัวใจและหลอดเลือดจะทำให้หัวใจเต้นผิดปกติ ระบบสร้างเลือดจะทำให้ไขกระดูกซึ่งมีหน้าที่สร้างเม็ดเลือดหยุดทำงาน เลือดแข็งตัวช้า บางรายเกิดเป็นมะเร็งในเม็ดเลือดขาว
4.การดื่มสุรา ทำให้เกิดโรคพิษสุราเรื้อรัง มีโอกาสเป็นโรคมะเร็งตับเสียชีวิต เจ็บป่วย/พิการจากโรคที่สามารถป้องกันได้

ความสัมพันธ์ของการใช้สารเสพติดกับการเกิดอุบัติเหตุ

ผู้ใช้สารเสพติดอาจประสบอุบัติเหตุได้ง่ายโดยเฉพาะการขับขี่่ยานพาหนะ เพราะระบบการควบคุมกล้ามเนื้อและประสาทบกพร่อง ความสามารถในการมองเห็นน้อยลง เป็นอันตรายต่อผู้ขับขี่ยานพาหนะหรือแต่เดินบนท้องถนน เพราะเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้ตลอดเวลา ซึ่งส่งผลกระทบต่อตนเองและบุคคลรอบข้าง เพราะอาจเกิดการบาดเจ็บ พิการ ทุพพลภาพหรืออาจเสียชีวิตจากอุบัติเหตุได้

แนวทางการป้องกันและแก้ไข้ปัญหาสารเสพติดแนวทางการป้องกันการใช้สารเสพติด

1.การปฏิบัติตนเพื่อป้องกันไม่ให้ตัวเราใช้สารเสพติด มีวิธีปฏิบัติ ดังนี้

1.1  ศึกษาเกี่ยวกับโทษของยาเสพติด จะทำให้เกิดความกลัวอันตรายจากสารเสพติด และเป็นเกราะป้องกันมิให้เข้าใกล้สารเสพติด
1.2  ไม่ทดลองใช้สารเสพติด บางคนทดลองใช้เพราะคิดว่าคงจะไม่ติดง่ายๆ และเมื่อติดแล้วใจก็ไม่แข็งพอทำให้ไม่สามารถเลิกสาารเสพติดได้
1.3  อย่าใช้ยาเสพติดในการแก้ปัญหาชีวิต เพราะนอกจากจะไม่ทำให้ชิวิตดีขึ้นแล้ว ยังทำให้ชีวิตแย่ลงกว่าเก่าเสียอีก
1.4  ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ สร้างเสริมคุณค่าให้แก่ตนเอง เช่น เล่นกีฬา เลานดนตรี
1.5  รักษาสุขภาพอนามัย ผู้ที่เจ็บป่วยบ่อยมักมีสุขภาพจิตที่ไม่ดีจนอาจนำไปสู่การใช้สารเสพติด หรือบางคนอาจใช้เพื่อการรักษาจนติดเป็นนิสัย
1.6  มีทักษะในการปฏิเสธ ต้องรู้จักการปฏิเสธเมื่อมีผู้ชักชวนให้ใช้สารเสพติด
1.7  มีทักษะในการดำรงชีวิต รู้จักดำเนินชีวิตไปในทางที่ดี ไม่ยุ่งเกี่ยวกับสารเสพติด

2.การสร้างบรรยายกาศในครอบครัวให้อบอุ่น ควรปฏิบัติดังนี้

2.1  สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างสมาชิกในครอบครัว
2.2  รู้บทบาทหน้าที่ของตนเองในการเป็นสมาชิกของครอบครัว
2.3  มีความประพฤติทั้งการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี

การดำเนินงานป้องกันสารเสพติดในโรงเรียน

โรงเรียนเป็นสถาบันที่มีบทบาทสำคัญรองลงมาจากครอบครัวดังนั้นการดำเนินการเพื่อป้องกันเยาวชนให้ปลอดภัยจากยาเสพติดจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้

1.เข้าร่วมการศึกษาเกี่ยวกับโทษและอันตรายของสารเสพติด
2.ร่วมเป็นแกนนำนักเรียนและเยาวชนในโรงเรียน  ดำเนินการป้องกันสารเสพติด
3.ชวนเพื่อนเข้ากลุ่มและเป็นสามชิกตามโครงการทูบีนัมเบอร์วัน
4.แกนนำและสมาชิกเครือข่ายร่วมกันสำรวจปัญหา และเฝ้าระวังสถานการณ์ในโรงเรียนและชุมชนร่มกับอาสาสมัครที่ดำเนินการป้องกันสารเสพติดในชุมชน
5.แกนนำและสมาชิก ร่วมกันวิเคราะห์ปัญหาและวางแผนร่วมกันในการดำเนินงานเฝ้าระวังและป้องกันสารเสพติดในโรงเรียน
6.ร่วมกันดำเนินกิจกรรมต่างๆในการป้องกันสารเสพติด เช่น
6.1 ดำเนินการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ความรู้ ข่าวสารเน้นให้ตระหนักถึงโทษและอันตรายของสารเสพติด
6.2 จัดกิจกรรมที่สร้างสรรค์และมีประโยชน์ร่วมกัน
6.3 ประชุมสรุปผลการดำเนินงาน ประเมินผลความสำเร็จและปัญหาที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานเพื่อหาทางแก้ไข
6.4 ดำเนินเฝ้าระวัง โดยแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบของเครือข่ายนักเรียนร่วมกันดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง
7.ปรึกษาครูเพื่อประสานภาครัฐ เอกชน และองค์การปกครองท้องถิ่น เพื่อให้ได้รับการสนับสนุนสื่ออุปกรณืทางวิชาการ ตลอดจนงบประมาณที่ใช้ในการดำเนินโครงการและกิจกรรมการป้องกันสารเสพติดในโรงเรียนและชุมชน
8.ขยายการดำเนินงานเฝ้าระวังและป้องกันสารเสพติด โดยเครือข่ายแกนนำนักเรียนและเยาวชนในโรงเรียนออกไปสู่ชุมชน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น