วันศุกร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ระบบประสาท

ระบบประสาท

ระบบประสาทของสัตว์ มีหน้าที่ในการออกคำสั่งการทำงานของกล้ามเนื้อ ควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย และประมวลข้อมูลที่รับมาจากประสาทสัมผัสต่างๆ และสร้างคำสั่งต่างๆให้อวัยวะต่าง ๆ ทำงาน 
ระบบประสาทของสัตว์ที่มีสมองจะมีความคิดและอารมณ์ ระบบประสาทจึงเป็นส่วนของร่างกายที่ทำให้สัตว์มีการเคลื่อนไหว (ยกเว้นสัตว์ชั้นต่ำที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้เช่น ฟองน้ำ สารเคมีที่มีฤทธิ์ต่อระบบประสาทหรือเส้นประสาท  เรียกว่า สารที่มีพิษต่อระบบประสาท ( ซึ่งมักจะมีผลทำให้เป็นอัมพาต หรือตายได้
ลักษณะทางกายวิภาค
ระบบประสาทประกอบด้วยเซลล์สองประเภท คือ
§ เซลล์ประสาท หรือ นิวรอนเป็นเซลล์ที่เป็นส่วนประกอบหลักของระบบประสาท
§ เซลล์เกลีย  เป็นเซลล์สำคัญรองจากนิวรอนมีหน้าที่ในการลำเลียงอาหารมาให้เซลล์ประสาท และเป็นองค์ประกอบของโครงสร้างของระบบประสาท
การส่งสัญญาณภายในระบบประสาทเกิดขึ้นได้ด้วยกลไกสองอย่าง คือ
§ การส่งสัญญาณภายในเส้นใยประสาทโดยวิธีของศักยะงาน 
§ การส่งสัญญาณระหว่างนิวรอนโดยอาศัยสารสื่อประสาท บริเวณจุดประสานประสาท 
ระบบประสาทของสัตว์มีกระดูกสันหลัง
ระบบประสาทของสัตว์มีกระดูกสันหลังสามารถแบ่งได้เป็นสองส่วน คือ ระบบประสาทกลาง หรือ ซีเอ็นเอสและ ระบบประสาทนอกส่วนกลาง หรือ พีเอ็นเอส ระบบประสาทกลางประกอบด้วยสมองและไขสันหลัง ระบบประสาทนอกส่วนกลางประกอบด้วยเส้นประสาทและนิวรอนที่ไม่ได้อยู่ในระบบประสาทกลาง โดยทั่วไปเรียกส่วนหลักของระบบประสาทนอกส่วนกลางว่าเส้นประสาท ระบบประสาทนอกส่วนกลางยังสามารถแบ่งออกเป็นระบบประสาทกาย และระบบประสาทอิสระ 

การจัดระบบของระบบประสาทในสัตว์มีกระดูกสันหลัง
ระบบประสาทนอกส่วนกลาง

ระบบประสาทกาย


ระบบประสาทอิสระ

ระบบประสาทซิมพาเทติก


ระบบประสาทพาราซิมพาเทติก


ระบบประสาทเอนเทอริก


ระบบประสาทกลาง



ระบบประสาทกาย มีหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายและรับสิ่งเร้า  ต่าง ๆ จากภายนอกร่างกาย ระบบประสาทอิสระเป็นส่วนที่ไม่สามารถสั่งงานได้และมีหน้าที่ควบคุมอวัยวะภายในต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น หัวใจปอด เป็นต้น
ระบบประสาทอิสระ ยังสามารถแบ่งออกเป็น ระบบประสาทซิมพาเทติก และระบบประสาทพาราซิมพาเทติก ระบบประสาทซิมพาเทติกจะตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่เป็นอันตรายหรือสถานการณ์ที่ตึงเครียด ระบบประสาทอันนี้ทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้นและเพิ่มความดันเลือด และเปลี่ยนแปลงสรีรวิทยาของระบบต่าง ๆ ของร่างกาย และทำให้เกิดความรู้สึกตื่นเต้น ระบบประสาทพาราซิมพาเทติกจะทำงานตรงกันข้ามกับระบบประสาทซิมพาเทติก กล่าวคือ ระบบประสาทพาราซิมพาเทติกจะทำงานเมื่อร่างกายรู้สึกผ่อนคลายหรือกำลังพัก มีผลทำให้รูม่านตาหดตัว, หัวใจเต้นช้าลง, เส้นเลือดขยายตัว และกระตุ้นให้ระบบย่อยอาหารระบบสืบพันธุ์ และระบบขับถ่ายทำงานอีกด้วย
ระบบประสาทกลาง
ระบบประสาทกลาง ประกอบด้วย สมอง และไขสันหลัง

สมอง แบ่งออกเป็น 3 ส่วน
§ สมองส่วนหน้า  ประกอบด้วยเทเลนเซฟาลอน  และไดเอนเซฟาลอน  เทเลนเซฟาลอนคือสมองใหญ่  ส่วนไดเอนเซฟาลอนประกอบด้วยไฮโปทาลามัส  ทาลามัส 
§ สมองส่วนกลาง  ทำหน้าที่เป็นส่วนหนึ่งของก้านสมองและเป็นจุดศูนย์กลางของรีเฟล็กซ์เกี่ยวกับการมองเห็น  และรีเฟล็กซ์เกี่ยวกับการได้ยิน  ประกอบด้วยซีรีบรัล พีดังเคิล  และคอร์พอรา ควอไดรเจมินา  ซึ่งแบ่งออกเป็น ซุพีเรียร์ คอลลิคูไล  2 พู  และอินฟีเรียร์ คอลลิคูไล  2 พู
§ สมองส่วนท้าย  ประกอบด้วยเมดัลลาออบลองกาตาสมองน้อย หรือ ซีรีเบลลัม และ พอนส์ 
สมอง มี 2 ชั้น (ตรงข้ามกับไขสันหลัง)
1.เนื้อเทา  เป็นที่อยู่ของกระแสประสาทและแกนประสาท ที่ไม่มีเยื่อไมอิลินหุ้ม
2.เนื้อขาว  เป็นที่อยู่ของแกนประสาทที่มีเยื่อไมอิลินหุ้ม

เยื่อหุ้มสมอง 3 ชั้น คือ
1.เยื่อหุ้มสมองชั้นนอก  เหนียว แข็งแรงมากโดยมีหน้าที่ป้องกันการกระทบกระเทือน
2.เยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง เป็นเยื่อบางๆ
3.เยื่อหุ้มสมองชั้นใน  มีเส้นเลือดแทรกมากมายทำหน้าที่ส่งอาหารไปเลี้ยงสมอง ในระหว่างชั้นกลางกับชั้นในจะมีการบรรจุของเหลวที่เรียกว่า น้ำเลี้ยงสมองไขสันหลัง โดยจะทำหน้าที่ให้สมองและไขสันหลังเปียกชื้นอยู่เสมอ
ไขสันหลัง ประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 2 ส่วน คือ
1.เนื้อขาว เป็นส่วนที่มีสีขาวรอบนอก ไม่มีเซลล์ประสาทจะมีเฉพาะใยประสาทที่มีเยื่อไมอิลินหุ้ม
2.เนื้อเทา  เป็นส่วนสีเทา ประกอบด้วยใยประสาทที่ไม่มีเยื่อไมอิลินหุ้ม และตัวเซลล์ประสาทซึ่งมีทั้งประเภทประสานงานและนำคำสั่ง
โครงสร้างของไขสันหลังและเส้นประสาทไขสันหลัง
1.     ปีกบน  เป็นบริเวณรับความรู้สึก
2.     ปีกล่าง เป็นบริเวณนำคำสั่ง
3.     ปีกข้าง เป็นบริเวณระบบประสาทอัตโนมัติ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น